การทำอาหารยังเป็นส่วนสำคัญของชีวิตครอบครัวไทย
แต่พวกเขาทำเมนูง่ายๆ มากขึ้น
เพื่อให้เข้าใจบริบทนี้อย่างชัดเจน จำเป็นต้องเข้าใจทั้งจำนวนครั้งที่ผู้คนทำอาหารและประเภทของอาหารที่พวกเขาทำ
ช่วงอายุมีอิทธิพลอย่างมากต่อการใช้เวลาในครัว คนหนุ่มสาวทำอาหารน้อยกว่ากลุ่มอื่นๆ และการมีลูกทำให้ครอบครัวหันมาเตรียมอาหารที่บ้านบ่อยครั้งขึ้น แต่จะลดลงเมื่อเด็กโตขึ้น นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังชอบทำอาหารที่บ้านบ่อยขึ้น แต่ว่าแนวโน้มนี้จะเปลี่ยนแปลงเมื่อเราพบว่าคนรุ่นใหม่มีลูกน้อยลง ซึ่งหมายความว่าพวกเขาอาจไม่ทำอาหารที่บ้านทุกวัน
จากการวิจัยพบว่า มากกว่าครึ่งหนึ่งของคนไทยทำอาหารแทบทุกวัน และประมาณหนึ่งในสามทำอาหารระหว่าง 1-4 ครั้งต่อสัปดาห์ มีเพียงส่วนน้อยที่บอกว่าไม่เคยทำอาหารที่บ้านเลย เกือบหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเขาทำอาหารที่บ้านมากกว่าปีที่แล้ว และมากกว่าครึ่งบอกว่าทำอาหารเท่าเดิม มีเพียง 16% ที่บอกว่าทำอาหารน้อยลง
ตัวเลขเหล่านี้บ่งชี้ว่าปริมาณการซื้อวัตถุดิบสำหรับการทำอาหารน่าจะเพิ่มขึ้น แต่เมื่อวิเคราะห์ประเภทของมื้ออาหารที่ผู้คนทำ จึงเข้าใจได้ว่าทำไมสถานการณ์จึงไม่เป็นเช่นนั้น
แม้ว่าผู้บริโภคจะบอกว่าทำอาหารเท่าเดิมหรือลดลง แต่ 70% ของคนไทยระบุว่าพวกเขาชอบเตรียมเมนูที่ง่ายกว่า อาจเป็นเพราะข้อจำกัดด้านเวลา ความต้องการความสะดวกสบาย และทักษะการทำอาหารที่ไม่ซับซ้อน มื้ออาหารที่ทำง่ายๆ เหล่านี้มักใช้วัตถุดิบในการปรุงน้อยลง ส่งผลให้ขนาดของตลาดผลิตภัณฑ์ประกอบอาหารหดตัวลง
นอกจากนี้ ครึ่งหนึ่งของครัวเรือนในการสำรวจระบุว่าพวกเขาซื้อสินค้าที่ถูกลงกว่าปีที่แล้ว (Trade down/Depremiumization) ดังนั้นถึงแม้ว่าพวกเขาจะทำอาหารมากขึ้น แต่สินค้าเหล่านี้มีราคาถูกลง ทำให้มูลค่าของตลาดลดลง