ผู้คนกลับไปทานอาหารที่ร้าน
และทำอาหารน้อยลงกว่าช่วงก่อนการล็อกดาวน์
เราได้พูดถึงแนวโน้มการทำอาหารที่บ้านไปแล้ว แต่ยังมีอีกปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้ออาหาร นั่นคือ การที่ผู้คนออกไปทานอาหารนอกบ้านมากขึ้นหลังจากที่ไม่ถูกจำกัดด้วยการล็อกดาวน์ที่เกี่ยวข้องกับโควิด
โดยรวมแล้ว ครึ่งหนึ่งของครัวเรือนไทยทานอาหารนอกบ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง ขณะที่ 20% ไม่ออกไปทานอาหารนอกบ้านเลย อย่างไรก็ตาม มีความแตกต่างในรายละเอียด ในพื้นที่ชนบทที่มีตัวเลือกน้อยกว่า ผู้คนมักจะไม่ไปทานอาหารที่ร้าน และมองว่าเป็นสิ่งที่ทำเฉพาะในโอกาสพิเศษ ขณะที่ในเขตเมือง (ทั้งในเมืองและชานเมือง) บางคนออกไปทานข้าวนอกบ้านแทบทุกวัน
ยิ่งคนทานอาหารนอกบ้านมากเท่าไร พวกเขาก็ยิ่งใช้จ่ายกับผลิตภัณฑ์สำหรับการปรุงอาหารน้อยลง และมีแนวโน้มที่จะซื้ออาหารสำเร็จรูปและของว่างมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มที่ทานอาหารนอกบ้านเป็นประจำเกือบทุกวัน
แต่ไม่ได้หมายความว่าคนที่ทานอาหารนอกบ้านจะไม่ทำอาหารที่บ้านเลย กลับกัน ชาวเมืองที่ชอบออกไปทานข้าวนอกบ้านก็ยังทำอาหารที่บ้านด้วย โดยประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าพวกเขาทำอาหารที่บ้านแทบทุกวัน ขณะที่ครัวเรือนในชนบททำอาหารที่บ้านบ่อยกว่านั้น ในภาพรวมแล้ว มากกว่า 90% ของครัวเรือนไทยทำอาหารที่บ้านอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการออกไปทานอาหารนอกบ้านจะกลับสู่ระดับก่อนการระบาดแล้ว แต่ผู้คนยังคงทำอาหารที่บ้านน้อยกว่าช่วงที่ล็อกดาวน์ แล้วอะไรคือปัจจัยอื่นที่ส่งผลให้ตลาดลดลง